สคส.จากในหลวงถึงประชาชน

สคส.จากในหลวงถึงประชาชน

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

"เศรษฐกิจไทยอยู่อย่างไรในอนาคต"




จัดทำโดย...นางสาวจิรวรรณ ทองแก้ว
เลขทะเบียน..4902100174


จากเวทีสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2553 "เศรษฐกิจไทย อยู่อย่างไรในอนาคต" จัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2552
*ศก.ปี53 โต3-5%
รศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2553 เริ่มมีสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นทั้งภาคการผลิตและคำสั่งซื้อ โดยเฉลี่ยทั้งปีน่าจะขยายตัวได้ที่ระดับ 3.0 - 5.0% จากผลของมาตรการต่างๆของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต อันเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ส่วนในปี 2552 คาดว่า จะหดตัว 3.0%
อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยง ทางการเมืองที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น , การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง , ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น,ราคาน้ำมันโลกที่มีโอกาสขยับไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ / บาร์เรลในปี 2553 จนส่งผลต่อต้นทุนการผลิต การปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นในระยะยาวรัฐบาลควรวางนโยบายแผนชัดเจนต่อการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศระยะยาว รวมถึงประเด็นปัญหาโครงการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ส่งผลให้การลงทุนใหม่ๆในพื้นที่ต้องหยุดชะงักลง และยืดเยื้อไปถึงต้นปี 2553 หากรัฐไม่เร่งแก้ปัญหาให้มีความชัดเจนโดยเร็ว
รศ.ดร.พรายพลกล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นมาตรการที่ถูกต้อง แต่ควรปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข็ง 2 ที่หลายโครงการเป็นโครงการล้างท่อ ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น โครงการลงทุนด้านโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่เน้นการปรับปรุงสภาพถนน ขณะที่ระบบรางสภาพค่อนข้างล้าหลังมาก แต่รัฐบาลกลับจัดสรรงบประมาณลงทุนในสัดส่วนน้อยมาก
*เก็บภาษีที่ดิน-มรดก
สอดคล้องกับรศ.ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เห็นว่า โครงการต่างๆ ของรัฐบาลนับว่าเป็นโครงการที่ดี แต่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ควบคู่ไปกับการเร่งดำเนินนโยบายในการพัฒนาประสิทธิภาพของทั้งภาคอุตสาหกรรม , การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน โดยรัฐบาลจะต้องเร่งวางนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยจากโอกาสของเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และปรับบทบาทการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมให้มีความชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งปรับสัดส่วนการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกให้สมดุลขึ้นเมื่อเทียบจากปัจจุบัน
"ในเบื้องต้นรัฐควรใช้โครงการไทยเข้มแข็งเป็นโครงการนำร่องในการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการเร่งแก้ปัญหาความล้มเหลวการประสานงานระหว่างรัฐกับรัฐ และรัฐกับเอกชน และควรผลักดันเรื่องภาษีที่ดิน และภาษีมรดกให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม "
*ยุทธศาสตร์เชื่อมกลุ่มจี20
ขณะที่มุมมองจากอดีตรัฐมนตรีการคลัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวว่าวิกฤติที่เกิดขึ้น ไทยควรเริ่มคิดใหม่ รัฐบาลควรเร่งสร้างเชื่อมั่น อย่ามัวแต่ให้ความสำคัญกับตัวเลขจีดีพีโดย เฉพาะการวางยุทธศาสตร์นำประเทศเชื่อมโยงกลุ่มจี 20 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศในอนาคตไว้ให้ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯยังมีบทบาทสำคัญในเอเชีย การสร้างสานความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นขึ้นเพราะญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ของไทย
*เจาะกลุ่มตลาดเอเชีย
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าประเทศจะได้รับกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจช่วง 2 ปีแต่สำหรับผู้ประกอบการส่งออกมีการปรับตัวพัฒนาดีขึ้นเห็นได้จากการค้าไปยังประเทศตลาดหลัก สหรัฐฯ ,ยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งเดิมมีสัดส่วนมากถึง 36% ปัจจุบันเหลือ 33% ขณะที่สินค้าส่งออกที่ใช้องค์ความรู้กลับเพิ่มสัดส่วนถึง 60% จาก 46%
"ในเมื่อกระแสเศรษฐกิจหลัก ( อุตสาหกรรม/ส่งออก ) นำพาประเทศไทยไปได้ก็ควรเดินต่อ ซึ่งไทยมีโอกาสสูงจะเป็นศูนย์การค้าของเอเชียได้ ทั้งถนนหนทาง อากาศ สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระบบขนส่งโลจิสติกส์ได้หมด "
*เปิดฐานลงทุนใหม่เซาเทิร์นซีบอร์ด





ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยวันนี้เรามาถึงครึ่งตุ่มแล้ว แต่เทียบการฟื้นสหรัฐอเมริกา และยุโรปเป็นเพียงเศษ 1 ส่วน 5 ดังนั้นการส่งออกจะไปพึ่งประเทศคู่ค้าเดิม ๆไม่ใช่ ต้องหันมาเน้นประเทศในเอเชีย/ตะวันออกกลางมากขึ้น ซึ่งยังต้องเดินตามกระแสหลักเดิมคือส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมควบคู่ภาคส่งออก ขณะเดียวกันยังต้องเน้นกำลังซื้อในประเทศ ( Domestic Demand )
พร้อมทั้งแนะต่อว่าหากเศรษฐกิจวันนี้จะขับเคลื่อนไปได้ การลงทุนใหม่ต้องเกิด แต่ปัญหาขณะนี้เรากำลังเจอตอจากปัญหามาบตาพุดทำให้ไทยไม่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะสร้างความมั่นใจให้เข้ามาลงทุน ในขณะที่พื้นที่ก็ใช้เต็ม รัฐจึงต้องเร่งเปิดพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ คือ เซาเทิร์นซีบอร์ด โดยเร่งเกิดขึ้นได้ภายใน 6 เดือนถึง 1 ปี โดยโครงการดังกล่าวเป็นประตูฝั่งตะวันตกเชื่อมโยงการขนส่งสินค้า และเป็นฐานอุตสาหกรรมเหล็ก ,ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมันเกิดอุตสาหกรรมปลายน้ำ ฯลฯ
*รับกติกากฎเกณฑ์โลก

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีพลังงาน และประธานที่ปรึกษามูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การเดินตามกระแสหลักแม้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในอนาคต แต่ประเทศยังมีอุปสรรคจากภายในและต่างประเทศที่ต้องปรับตัวเองมากพอสมควร ทั้งจาก 1.การแข่งขันสูง 2.ต้นทุน 3.อุปสรรคจากกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ ของประเทศในกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะมีส่งผลต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาฟื้นเศรษฐกิจที่จะตามมา จะปรับตัวอย่างไรให้อยู่กับชุมชนสิ่งแวดล้อมได้ รวมทั้งปัญหาที่ภาครัฐ ไม่ได้ออกกฎเกณฑ์ระเบียบ สร้างกฎกติกาให้ภาคธุรกิจชัดเจน อาทิในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและชุมชนในโครงการมาบตาพุด
"หากประเทศไม่ปรับตัว เมื่อเกิดวิกฤติอีกครั้ง เศรษฐกิจประเทศก็คงเติบโตแบบไปเรื่อย ๆ ปีละ 2-3% ขณะที่ประเทศอื่นล้ำหน้าไปก่อน และเมื่อมีกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาเราจะไม่ทันกาลกับการปรับตัว"


คำถาม
1.เศรษฐกิจในประเทศไทยมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องใดบ้าง?
2.โครงการต่าง ๆของรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขและดำเนินนโยบายในการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างใด?
3."หากเศรษฐกิจวันนี้จะขับเคลื่อนไปได้ การลงทุนใหม่ต้องเกิด" เป็นคำกล่าวของใคร

แหล่งที่มา.... จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2,481 22 พ.ย. - 25 พ.ย. 2552

4 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบคือ
    1.ปัจจัยเสี่ยง ทางการเมืองที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น , การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง , ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น,ราคาน้ำมันโลกที่มีโอกาสขยับไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ / บาร์เรลในปี 2553 จนส่งผลต่อต้นทุนการผลิต การปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

    2.จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ควบคู่ไปกับการเร่งดำเนินนโยบายในการพัฒนาประสิทธิภาพของทั้งภาคอุตสาหกรรม , การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน

    3.ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

    นางสาวชลนิสา จงจิตร เลขทะเบียน 5002110021

    ตอบลบ
  2. 1.ตอบ ปัจจัยเสี่ยง ทางการเมืองที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น , การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง , ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น,ราคาน้ำมันโลกที่มีโอกาสขยับไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ / บาร์เรลในปี 2553 จนส่งผลต่อต้นทุนการผลิต การปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
    2.ตอบ จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ควบคู่ไปกับการเร่งดำเนินนโยบายในการพัฒนาประสิทธิภาพของทั้งภาคอุตสาหกรรม , การเกษตร
    3.ตอบ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

    น.ส.ทัศนีย์ ศรีชาย เลขทะเบียน 5002110018

    ตอบลบ
  3. คำตอบคือ

    1. ปัจจัยเสี่ยง ทางการเมืองที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น , การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง , ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น,ราคาน้ำมันโลกที่มีโอกาสขยับไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ / บาร์เรลในปี 2553 จนส่งผลต่อต้นทุนการผลิต การปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

    2.จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ควบคู่ไปกับการเร่งดำเนินนโยบายในการพัฒนาประสิทธิภาพของทั้งภาคอุตสาหกรรม , การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน

    3. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

    อณุภา จิตติพัฒนกุลชัย 5002100095

    ตอบลบ
  4. 1.ปัจจัยเสี่ยง ทางการเมืองที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น , การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง , ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น,ราคาน้ำมันโลกที่มีโอกาสขยับไปแตะ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ / บาร์เรลในปี 2553 จนส่งผลต่อต้นทุนการผลิต การปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

    2.จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ควบคู่ไปกับการเร่งดำเนินนโยบายในการพัฒนาประสิทธิภาพของทั้งภาคอุตสาหกรรม , การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน

    3. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    นางสาว สุดาวัลย์ จันทรักษ์ 4902100146

    ตอบลบ