สคส.จากในหลวงถึงประชาชน

สคส.จากในหลวงถึงประชาชน

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

_บาทแข็งไม่กระทบฐานะแบงก์ชาติ_

จัดทำโดย...นายอับดลเหล๊า หมัดอะหิน
เลขทะเบียน 4902100143
เรื่อง... บาทแข็งตัวไม่กระทบแบงก์ชาติ...

แบงก์ชาติย้ำทุนสำรองระหว่างประเทศที่พุ่งทะยานกว่าแสนล้านดอลล์ ไม่เป็นภาระการบริหารจัดการ แม้ล่าสุดค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น 4% เมื่อเทียบดอลล์ มั่นใจขาดทุนไม่มาก หลังการกระจายการถือครอง พร้อมเตรียมชั่งน้ำหนักลงทุน"ทองคำ" คุ้มหรือไม่จากสัดส่วนในปัจจุบันที่มีเพียง 2% ด้าน "บัณฑิต"ย้ำยังคงนโยบายการเงินดอกเบี้ยต่ำเพื่อประคองศก.ให้ฟื้นต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นการบริหารเงินสำรองที่ล่าสุด ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2552 (เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552) อยู่ที่ระดับ 135,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯว่า ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยล่าสุดมีสูงถึง 2 เท่าของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด หรือประมาณ 5.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นทั้งหมด หรือคิดเป็น 12 เดือนของมูลค่าการนำเข้าปัจจุบัน นับว่าเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบจากอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีธปท.ไม่ได้วิตกว่าตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นจะกลายเป็นภาระต่อการบริหารจัดการ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะต้องเพิ่มตลอดต่อเนื่อง ซึ่งขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายทางการเงินในระยะถัดไป
" การมีทุนสำรอง ก็เพื่อทำนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และหนุนหลังพันธบัตร รวมถึงเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อมั่น แต่ไม่จำเป็นต้องมีมาก แต่ถามว่าระดับที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าไหร่ มันอยู่ที่เราจะประเมินว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะมีความผันผวนมากน้อยเพียงใด เงินจะไหลออกมากน้อยเพียงใด แต่ที่ไหลออกแน่ๆคือ หนี้ระยะสั้น ซึ่งเรามีตัวเลขอยู่แล้ว แต่ไม่น่าห่วงมากนัก" ผู้ช่วยผู้ว่าการกล่าว
นางสุชาดากล่าวเพิ่มเติมว่า การบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยหลักการธปท.จะให้น้ำหนักใน 3 ประเด็นประกอบด้วย สภาพคล่อง , ความมั่นคง และผลตอบแทนที่ได้รับ โดยในส่วนที่เป็นสภาพคล่องจะต้องมีความคล่องตัวสูง ดังนั้นธปท.จะถือในรูปดอลลาร์สหรัฐฯทั้งหมด ขณะที่ในส่วนอื่นๆธปท.ได้มีการกระจายการถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นสกุลเงินอื่นมากขึ้นนับจากปี 2540 เป็นต้นมา จากอดีตที่เคยถือครองดอลลาร์สหรัฐฯสูงถึง 90% เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก ซึ่งจากเอกสารการเผยแพร่ของไอเอ็มเอฟล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาได้มีการกระจายความเสี่ยงมากขึ้น (ตารางประกอบ)
"เรามีการกระจายความเสี่ยงนับจากปี 2540 ส่วนการจะนำเงินสำรองไปลงทุนจะต้องมีไกด์ไลน์ที่เป็นไปตามพ.ร.บ.ธปท. และพ.ร.บ.เงินตรา โดยมีคณะกรรมการธปท.เป็นคนกำหนดประเภทที่ออกไปลงทุน และมีอำนาจอนุมัติ เรามีการลงทุนในทองอยู่แล้วตั้งแต่อดีต แต่จะมีการลงทุนใหม่หรือไม่นั้น กำลังพิจารณาอยู่ เนื่องจากทองเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทน ไม่มีดอกเบี้ย ยกเว้นราคาขึ้นจึงจะได้ ซึ่งด้านบริหารความเสี่ยงกำลังประเมินถึงความคุ้มค่าจากความผันผวนของราคากับผลตอบแทนที่ได้ เพราะการถือครองทองก็เหมือนถือดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนการถือทองประมาณ 2% ของพอร์ตทั้งหมด หรือประมาณ 84 ตัน มูลค่าประมาณ 2 พันกว่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ" นางสุชาดากล่าวย้ำ
นางสุชาดากล่าวอีกว่า สำหรับผลตอบแทนจากการบริหารเงินสำรองในรูปของเงินตราต่างประเทศเป็นบวกมาโดยตลอด แต่เมื่อแปลงกลับมาเป็นผลตอบแทนในรูปของเงินบาทอาจมีขึ้น - ลง โดยหากในช่วงใดที่ค่าเงินปรับตัวแข็งค่าการแปลงผลตอบแทนกลับมาในรูปเงินบาทอาจขาดทุนได้ เช่นเดียวกับปี 2552 ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 4% แต่เนื่องจากปัจจุบันธปท.ได้มีการกระจายการถือครองสินทรัพย์ไปยังสกุลเงินอื่นๆมากขึ้น บางส่วนให้ผลตอบแทนเป็นบวก ดังนั้นสุทธิหากแปลงผลตอบแทนกลับมาในรูปเงินบาทคงขาดทุนไม่มากนัก
ด้านนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้แม้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นแล้ว แต่ก็อยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งการฟื้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อการใช้จ่ายภาครัฐ สามารถผลักดันให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนขยายการลงทุนและการบริโภคในประเทศ เหตุนี้ธปท.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเมสเสจ 3 ทาง กล่าวคือ 1.การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ดูแลสภาพคล่องในระบบให้เพียงพอ และ3. ดูแลและรักษาระดับค่าเงินไม่ให้ผันผวนมากไปจนเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการภาคธุรกิจ .

1.การบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศธนาคารแห่งประเทศไทยใช้หลักการใด ?
2.ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายอะไรในการประคองเศรษฐกิจของประเทศไทย ?
3.สาเหตุใดธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องส่องเมสเสจ3 ทาง ?

ที่มา.... หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2,478 12 พ.ย. - 14 พ.ย. 2552

3 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบคือ
    1.การบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยหลักการธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้น้ำหนักใน 3 ประเด็นประกอบด้วย สภาพคล่อง , ความมั่นคง และผลตอบแทนที่ได้รับ
    2.นโยบายการเงินดอกเบี้ยต่ำเพื่อประคองศรษฐกิจของประเทศไทย
    3.เพราะเศรษฐกิจไทยจะฟื้นแล้ว แต่ก็อยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งการฟื้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อการใช้จ่ายภาครัฐ สามารถผลักดันให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนขยายการลงทุนและการบริโภคในประเทศ เหตุนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเมสเสจ 3 ทาง

    นางงสาวชลนิสา จงจิตร เลขทะเบียน 5002110021

    ตอบลบ
  2. คำตอบคือ
    1. โดยใช้หลักใน 3 ประเด็นประกอบด้วย สภาพคล่อง , ความมั่นคง และผลตอบแทนที่ได้รับ
    2.นโยบายการเงินดอกเบี้ยต่ำ
    3.เพราะเศรษฐกิจไทยจะฟื้นแล้ว แต่ก็อยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งการฟื้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อการใช้จ่ายภาครัฐ สามารถผลักดันให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนขยายการลงทุนและการบริโภคในประเทศ เหตุนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเมสเสจ 3 ทาง

    นางสาวทัศนีย์ ศรีชาย เลขทะเบียน 5002110018

    ตอบลบ
  3. 1. ใช้หลัก 3ประเด็นประกอบด้วย สภาพคล่อง ความมั่นคง ผลตอบแทนที่ได้รับ
    2. นโยบายการเงินดอกเบี้ยต่ำ
    3. เศรษฐกิจไทยจะฟื้นแต่อยู่ในช่วงเริ่มต้นซึ่งการฟื้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการใช้จ่ายภาครัฐ สามารถรอผลักดันให้เอกชนขับเคลื่อนขยายการลงทุนและการบริโภคในประเทศ

    นางสาวจิรัญญา เกษรสุคนธ์ เลขทะเบียน 4902100028

    ตอบลบ