สคส.จากในหลวงถึงประชาชน

สคส.จากในหลวงถึงประชาชน

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

ครม.ไฟเขียว4มาตรการภาษี

ผู้จัดทำ นางสาวพริยาภรณ์ บุตรพรม
เลขทะเบียน 4902100180

ครม. ไฟเขียวปรับโครงสร้างพิกัดอัตราภาษีศุลกากร 13 รายการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของผู้ประกอบการ
คาดส่งผลต่อรายได้รัฐลดปีละ 35 ล้านบาท พร้อมคลอดมาตรการภาษีหนุนการออมเพื่อการชราภาพ , กบข.และ กสล. โดยมีมติให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับ /มาตรการภาษีช่วยเหลือคนพิการ ให้กับผู้ประกอบการ/นิติบุคคลที่รับคนพิการเข้าทำงาน และมาตรการสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้ยืดอายุมาตรการต่ออีก 1 ปี
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบเรื่องการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดศุลกากร ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย 13 รายการ

การปรับปรุงโครงสร้างภาษีดังกล่าว นายประดิษฐ์ กล่าวว่าจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้าระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตนำเข้าบางรายการที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ หรือมีการผลิตได้แต่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ และยังคงมีอัตราอากรขาเข้าในอัตราที่สูงกว่าอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิต 3 อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ( 1% สำหรับวัตถุดิบ, 5% สำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และ 10% สำหรับสินค้าสำเร็จรูป) ทำให้เกิดปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้า และเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย
ดังนั้นกระทรวงการคลังจึงเห็นควรให้ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ดังนี้

1. ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ / ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยจำนวน 9 ประเภทย่อย

รายการ อัตราปัจจุบัน อัตราใหม่

เมล็ดโกโก้ ร้อยละ 30 ร้อยละ 5
สิ่งสกัดจากมอลต์ ร้อยละ 35 ยกเว้นอากร
สินแร่ หัวแร่ทองแดง ร้อยละ 10 ยกเว้นอากร
ก้านไม้ขีด ร้อยละ 40 ยกเว้นอากร
เฉพาะถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ จัดทำด้วยเหล็กกล้า ร้อยละ 17 ยกเว้นอากร

(1 มกราคม 2552 - 31 ธันวาคม 2553)

2. ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติประเภทถังเหล็ก จำนวน 4 ประเภทย่อย
3. ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำรายการสินค้าที่มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราขาเข้าไปแล้ว จำนวน 3 ประเภทย่อย
ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าว จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรประมาณปีละ 35 ล้านบาท อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศที่ได้รับ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแข่งขันได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้าลดลง
นอกจากนี้ครม. ยังมีมติเห็นชอบในส่วนของมาตรการภาษีสรรพากร ประกอบด้วย 1.มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมเพื่อการชราภาพ , กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับจากทั้ง 2 กองทุนในกรณีพ้นสมาชิกภาพ กล่าวก็คือกรณี สูงอายุ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต


รวมถึงกรณีที่โอนจากกองทุน กบข. ไปสู่ กสล. หรือจาก กสล. หนึ่งไปสู่อีก กสล.หนึ่ง จากเดิมซึ่งหากเป็นในส่วนของ กบข. จะให้เฉพาะการรับเงินหรือผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับทั้งจำนวน เมื่อพ้นสมาชิกภาพเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ขณะที่มาตรการใหม่ได้เพิ่มสิทธิ์ให้สามารถเลือกได้ที่จะรับเงินจาก กบข. ทั้งจำนวน หรือทยอยรับ และยกเว้นสำหรับดอกผลจากเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าว รวมถึงให้เพิ่มสิทธิในกรณีที่พ้นจากสมาชิกภาพในการขอเกษียณอายุก่อนกำหนด จากเดิมที่ต้องเกษียณอายุก่อน หรือเสียชีวิต
และให้สิทธิยกเว้นต่อเนื่องหากต้องการโอนจาก กบข. ไป กสล. ขณะที่ในส่วนของ กสล. จากเดิมให้ยกเว้นได้เฉพาะการรับเงินหรือผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับทั้งจำนวน โดยการปรับปรุงใหม่นั้นจะให้ได้รับการยกเว้นในกรณีไม่ว่าลูกจ้างจะขอรับเงินหรือผลประโยชน์ทั้งจำนวน หรือขอคงเงินไว้ใน กสล. เมื่อรับเงินคืนทั้งจำนวน หรือทยอยรับ และให้ได้รับสิทธิกรณีขอเกษียณอายุก่อนกำหนด แต่ต้องคงเงินหรือผลประโยชน์ไว้จนถึงวันเกษียณอายุโดยไม่ต้องเสียภาษี
และ 2.มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือคนพิการ โดยให้ยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลให้นายจ้างที่รับคนพิการเข้าทำงาน และผู้ที่จัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการในอัตรา 20% รวมถึงผู้ที่บริจาคเงินให้กับกองทุนเพื่อส่งเสริมพัฒนาชีวิตให้คนพิการ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่าเงินจำนวนที่บริจาค โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
พร้อมกันนี้ยังได้ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และโครงสร้างองค์กรออกไป 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล (NPL) ของแต่ละองค์กรลดลง โดยในปี 2551ที่ผ่านมาหนี้เอ็นพีแอลลดลง 84,000 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เอ็นพีแอลลดลง 32,300 ล้านบาท นอกจากนี้ในส่วนของหนี้เอ็นพีแอล ยังได้มีการขอเพิ่มเติมให้ กรณีที่ผู้เป็นหนี้เอ็นพีแอลแล้วชำระหนี้มาด้วยดีตลอดให้ได้รับสิทธิ์ในการขยายระยะเวลาไปจนถึงสิ้นปี 2553 ด้วย ขณะที่ส่วนของภาษีทางด้านของการส่งเสริมภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณา

คำถาม
1.จากการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ / ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยจำนวนกี่ประเภทย่อย
2.การดำเนินการปรับปรุงดังกล่าว จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรเป็นเงินจำนวนเท่าใด
3.รัฐบาลได้ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และโครงสร้างองค์กรออกไปเป็นระยะเวลาเท่าไหร

ขอบคุณข้อมูลจาก จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,490 24-26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

4 ความคิดเห็น:

  1. ตอบคำถามโดยนางสาวสุกัญญา ธรรมประเสริฐ เลขทะเบียน4902100168
    1.ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ / ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยจำนวน 9 ประเภทย่อย
    2. จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรประมาณปีละ 35 ล้านบาท
    3.ได้ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และโครงสร้างองค์กรออกไป 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในสิ้นปีนี้

    ตอบลบ
  2. ตอบคำถาม
    1. จำนวน 9 ประเภทย่อย
    2. ประมาณปีละ 35 ล้านบาท
    3.1 ปี
    โดย นางสาวดาวนภา สีทร เลขทะเบียน 4902100140

    ตอบลบ
  3. คำตอบ โดยนางสาวเกศินี คงประพันธ์ เลขทะเบียน 4902100145
    1.จากการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ / ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยจำนวน9 ประเภทย่อย
    2.การดำเนินการปรับปรุงดังกล่าว จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรเป็นเงินจำนวน35 ล้านบาท
    3.รัฐบาลได้ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และโครงสร้างองค์กรออกไปเป็นระยะเวลา1 ปี

    ตอบลบ
  4. คำตอบ นางสาวสุดาวัลย์ จันทรักษ์ เลขทะเบียน 4902100146
    1.มี 9 ประเภทย่อย
    2.เงินจำนวน35 ล้านบาท
    3.เป็นระยะเวลา1 ปี

    ตอบลบ